ตอนที่ 5 : เที่ยว อีสานใต้ พิมาย บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชบุรี

ทริปอีสานใต้ พิมาย บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชบุรี

(เดินทางระหว่าง 23-26 พฤศจิกายน 2563)

By: รณยุทธ์  จิตรดอน

     ทริปอีสานใต้คราวนี้มีเหตุผลการเดินทาง 3-4 ข้อด้วยกัน คือ

1. หาคำตอบยืนยันว่า ”ปราสาทหินพิมาย” เป็นต้นแบบของปราสาทต่างๆที่สร้างขึ้นมาแม้ว่าจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เช่า นครวัต นครธม ก็ตาม

2. เส้นทางผามออีแดง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ”ปราสาทเขาพระวิหาร” ซึ่งถูกปิดไม่ให้รักท่องเที่ยวขึ้นไป สามารถมองดูผ่านกล้องส่องทางไกลเท่านั้น

3. กลับไปเยี่ยมโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี ที่ซึ่งอาจารย์บุญเยี่ยม จิตรดอน ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ระหว่าง 2496-2498 ณ ที่แห่งนี้ ผม และรอยลได้เริ่มเข้าเรียนอนุบาลอยู่ 1 ปี ก่อนย้ายตามคุณแม่มาเรียนต่อที่โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก กทม.

4. เมืองบุรีรัมย์ได้พัฒนาเป็นศูนย์การกีฬาของประเทศ มีทั้งสนามฟุตบอลมาตรฐาน”ช้างอารีน่า”และ สนามแข่งรถมอเตอร์ไซด์ โมโต จี พี “ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต”  

     คราวนี้มีผู้ร่วมเดินทาง 9 คน แต่ใช้รถมินิบัสซึ่งจุได้ถึง 18 ที่นั่ง ทุกคนสามารถเดินเหินไปมาในรถได้ตลอดเส้นทางการเดินทาง รถวิ่งมาตามถนนกาญจนาภิเษก เข้าถนนพหลโยธินและเลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพที่สระบุรี จุดแรกที่หยุดลงชมวิวทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งปีนี้น้ำขึ้นสูงกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา

     จากการสำรวจพบว่านครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีวัดมากที่สุดในประเทศ โดยในจำนวนวัดทั้งหลายนี้มีวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักอยู่แล้ว 6 แห่ง ที่แวะได้แก่ มหาวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อ.สีคิ้ว และยังปรากฏวัดและศาสนสถานที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัด ได้แก่ แหล่งโบราณสถานบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ และ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

     เมื่อถึงพิมาย เป็นเวลาเย็นพอสมควรแล้ว จึงได้ดูบริเวณโดยรอบเมืองพิมาย ชัดเจนในระดับหนึ่งว่าปราสาทหินแห่งนี้สร้างขึ้นก่อนนครวัต นครธม เพราะประตูชัย ซึ่งเป็นประตูเมืองที่มีเส้นทางเชื่อมต่อไปเมืองพระนครนั้นตั้งอยู่ทางทิศใต้ เพราะหากพิมายเป็นเมืองบริวารแล้ว ประตูเมืองจะต้องหันหน้าไปทางพระนคร (ทิศตะวันออก) แวะผ่านไปชมไทรงามซึ่งน้ำยังคงสูงอยู่ และเข้าพักที่โรงแรมพิมายพาราไดซ์ หักพักใช้สิทธิ์ ”เราเที่ยวด้วยกัน” เหลือค่าห้องเพียง 595 บาท! ห้องอาหาร ”ระเบียงไม้” อยู่ตรงข้ามโรงแรม

     นัดกันว่าพรุ่งนี้หลังทานอาหารเช้ากันแล้วจะเดินไป อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งอยู่ติดกับโรงแรม

     คณะเรานัดกัน 8:00 น. หลังอาหารเช้าข้าวต้มแล้ว เดินเข้าไปชมปราสาทซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย

     เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแผ่เข้ามาในสุวรรณภูมิแล้ว และสิ่งที่ขอขอบคุณผู้ที่ติดตาม line กลุ่มอย่างน้อยจาก 2 ท่านที่ส่งข้อความสนับสนุนความเชื่อที่ว่าปราสาทหินพิมายเป็นต้นแบบของปราสาทองค์อื่นๆ ที่สร้างต่อมา ผมต้องขอขอบคุณทั้งจากอาจารย์สันทัดฯ ท่านผู้นี้จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และขณะที่สอนอยู่ที่สาธิตจุฬาฯ ก็ยังร่วมเล่นดนตรีวง อ.ส. ด้วย และ จากคุณแอนน์ รัตนากร ที่เข้าline จากที่สอบถามจาก ศ.ม.ร.ว. ดร.สุรยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีขอม

    ทริปอีสานใต้นี้ ได้ใช้โครงการ”เราเที่ยวด้วยกัน” และ “คนละครึ่ง” โดยตกลงกันว่า

1. ส่วนลดที่ได้จากทั้ง2 โครงการ และที่แชร์เป็นค่าอาหารจะร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสร้างอาคารธรรมสภา ศูนย์อบรมเยาวชนนครราชสีมา ที่ผมเป็นประธานเอกในวันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม และเป็นประธานในวันอาทิตย์ก่อนสิ้นปีที่ 27 ธันวาคม

2. ค่าโรงแรมที่เข้าพักในระหว่างทริปนี้ทั้งหมด ก็จะร่วมทำบุญทอดผ้าป่าด้วยเช่นกัน

3. ค่าเช่ารถมินิบัสที่ใช้สำหรับทริปนี้ระหว่าง 23-26 พฤศจิกายน ก็จะร่วมทำบุญทอดผ้าป่าด้วยเช่นกัน

     เมื่อสิ้นสุดทริปนี้ก็จะสรุปจำนวนเงินที่แต่ละสมาชิกร่วมทำบุญทอดผ้าป่า(!)

     เมื่อออกจากที่พักที่พิมายผ่านอำเภอห้วยแถลง นครราชสีมา และ อำเภอลำปลายมาศ บุรีรัมย์ แล้วมาเข้าเส้นทางหลักคือทางหลวงหมายเลข 24 ถึงร้านอาหารที่ร่วมโครงการ ”เราเที่ยวด้วยกัน” เป็นค่าอาหาร 1,574 บาท ที่ร่วมทำบุญ

     ผ่านอำเภอกันทรลักษ์ ศรีษะเกษ เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร  คณะเราถึงเกือบเวลาจะปิดอุทยานฯ แล้วเวลา 16:30 น จึงไม่ได้ลงไปดู” ภาพสลักนูน” แต่ตามเส้นทางสันเขาเป็นที่ตั้งผามออีแดง ซึ่งตรงนี้ เป็นที่ตั้งเสาธงชาติไทย ที่รื้อถอนออกจากปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อครั้งที่ศาลโลกตัดสินให้ไทยแพ้คดีเขาพระวิหารเมื่อปี 2505 จึงย้ายเสาที่ปักไว้เดิมมาตั้งไว้ที่ผามออีแดงเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณองค์ในหลวงรัชกาลที่ 9 จากตรงจุดนี้สามารถมองจากกล้องส่องทางไกลเห็นยอดปราสาทเขาพระวิหารได้ เนื่องจากในปัจจุบันไม่สามารถขึ้นไปชมองค์ปราสาทได้แล้ว(!)

     วันนี้ได้เลือกเข้าพักโรงแรมอริสตาร์ อุบลราชธานี โดยก่อนเข้าที่พักได้แวะทานข้าวต้มกันที่ร้าน “ข้าวต้มเศรษฐี” ได้เงินทำบุญทอดผ้าป่า 1,053 บาท

     น่าเสียดายที่โรงแรมอริสตาร์ ไม่สามารถจองผ่าน Agoda (ต้องจองใช้สิทธิ์โดยตรงกับโรงแรมเท่านั้น) จึงไม่ได้ส่วนลดค่าอาหารในวันรุ่งขึ้น 900 บาทได้ (!)

     วันนี้เป็นวันที่ 3 ของการเดินทางแล้ว แต่จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยังมีอยู่อีกมาก จึงตัดสินใจกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการปรับให้กระชับขึ้นเพื่อไม่ต้องไปทำให้ที่จะต้องเที่ยวบุรีรัมย์ช้าไปและจะทำให้กลับเข้ากรุงเทพดึก

     แต่ยังมีจิตเป็นกุศลแวะเข้าไปไหว้เจดีย์วัดพระธาตุหนองบัวและวัดสุปุฏนาราม เป็นวัดธรรมยุตสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งแรกของภาคอีสาน อุโบสถมีหลังคาสถาปัตยกรรมไทย ตึกเป็นสถาปัตยกรรมเยอรมัน และฐานเป็นแบบขอม ได้แวะนำเพื่อนมาดูโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี ติดกับทุ่งศรีเมือง ซึ่งคุณแม่เคยมาเป็นครูใหญ่ จึงทำให้ผมและรอยลมาเรียนอนุบาลที่นี่อยู่ 1 ปี ก่อนจะตามคุณแม่มาเรียนต่ออนุบาลวัดปรินายก กรุงเทพฯ

     มาถึงอุบลก็ต้องหาของดีเมืองอุบลทานกัน ทุกคนลงไปซื้อหมูยอตองหนึ่ง ร้านดังเมืองอุบล กลับขึ้นรถ สุนีย์ทำหน้าที่หั่นหมูยอแจกเพื่อนๆ 

     คณะเราออกจากอุบลประมาณ 9:00 น หลังจากแวะซื้อหมูยอ และของฝากเมืองอุบลแล้ว วิ่งผ่านมาทางจังหวัดศรีษะเกษ และแวะที่ “หมู่บ้านช้างคชศึกษา” สุรินทร์ เห็นรุ่นหลานใส่เสื้อ “New York State” เลยขอถ่ายรูปด้วย ญาติผู้ใหญ่คงจะเรียนมาจากที่เดียวกัน(!)ข้าวกลางวันก็ทานกันที่ร้าน”บ้านสวน” เป็นอาหารจานเดียว อยู่หน้าหมู่บ้านช้าง  ที่จะไม่อดกล่าวถึงคือความสำคัญของช้างที่มีต่อการสงครามของประเทศ โดยขอตัดตอนข้อความจากพิพิธภัณฑ์ช้างดังนี้

     “พ.ศ.2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงดำริว่าเมืองสุรินทร์ เมืองมัวจะ และเมืองจุขันธ์ เป็นเมืองที่เคยตามเสด็จพระราชดำเนิน ในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง 3 เมือง ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครเลยทีเดียว มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน

     บรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้สนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาลด้วยความจงรักภักดีมาโดยตลอด จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้สืบเชื้อสายจากพระยาสุรินทร์ภักดี เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ สืบต่อกันมา จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล ส่วนกลางจึงได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2451 เป็นต้นมา”

     และรีบมาต่อที่บ้านทุ่งสว่าง อ.เมือง สุรินทร์ ซึ่งเป็นสถานที่ทอผ้าไหมยกทองที่มีชื่อมากที่สุดของประเทศ กระทั่งในวันนี้ เจ้าคุณพระฯ มีกำหนดการที่จะเสด็จมาเช่นกัน คณะเราจึงรีบมาต่อที่สนาม ”ช้างอารีนา”

     และสนาม ”ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต” ได้ถ่ายรูปหน้า “ปราสาทสายฟ้า”(ที่แถบนี้สร้างอะไรก็ใหญ่โตเป็นปราสาทกันหมด แม้สนามจะไม่เปิดเข้าชม แต่ได้ซื้อเสื้อเป็นที่ระลึกกัน คนละตัวสองตัว

     จุดหมายปลายทางสุดท้ายของวันนี้เป็น ”วนอุทยานเขากระโดง” ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งองค์พระพุทธรูปประธานบนเนินเขาที่ตั้งอยู่บนปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว ที่มองลงมาจะเห็นทิวทัศน์เมืองบุรีรัมย์ ทั้ง 2 สนาม และอาคารศูนย์ราชการที่ใหญ่โต ซึ่งต่อไปความเจริญจากทุกทิศทุกทางจะมาลงที่จังหวัดอีสานใต้แห่งนี้

     คืนนี้คณะเราเข้าพักที่โรงแรม Best Western ก่อนเข้าที่พักได้แวะไปทานข้าวเย็นกันที่ ร้าน“สองพี่น้อง ไดโน” ที่ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเป็นคนแนะนำ ได้ใช้ส่วนลดทั้ง ”เราเที่ยวด้วยกัน” และ”คนละครึ่ง” ค่าอาหารวันนี้ 1,595 ได้ลดเราเที่ยวด้วยกัน(518 บาท) คนละครึ่ง (150 บาท) เท่ากับว่าจ่ายค่าอาหารจริงๆ 827 บาท(!)

     วันนี้เป็นวันสุดท้ายของทริปนี้  มาอีสานใต้ก็ต้องแวะ”ปราสาทพนมรุ้ง”และ”ปราสาทเมืองต่ำ” ซึ่งได้ขอขึ้นบัญชีมรดกโลกปราสาทหินเส้นทางอีสานใต้แล้ว รอการขึ้นทะเบียนเป็นทางการจากยูเนสโก

     ปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว  และยังเป็นที่ตั้งวัดเขาพนมรุ้งอยู่ติดกัน จากที่จอดรถจะต้องเดินขึ้นบันไดถึง 3 ชั้นด้วยกัน องค์ปราสาทสร้างขึ้นจากคติความเชื่อของศาสนาฮินดู จำลองศูนย์กลางจักรวาล และต่อมาเมื่อศาสนาพุทธได้แผ่ขยายเข้ามา ได้เปลี่ยนเป็นศาสนสถานศาสนาพุทธมหายาน ปราสาทองค์ประธานมีทับหลัง”นารายณ์บรรทมสินธุ์” ที่ไทยได้รับกลับคืนมาติดตั้งไว้ ณ ที่เดิม ขากลับจึงให้รถมารับจากด้านหลังปราสาทที่เป็นที่ราบมากกว่าด้านหน้า การลงบันไดซึ่งชันมากเป็นสิ่งที่ลำบากสำหรับผู้สูงอายุ

     สำหรับห้องเช่าที่ร้านขายสินค้าพื้นบ้านไว้จับจ่ายซื้อหาแล้ว คณะลงเขาไปต่อที่”ปราสาทเมืองต่ำ” เนื่องจากที่ตั้งอยู่พื้นราบชาวบ้านที่อยู่อาศัยอยู่พื้นที่โดยรอบจึงเรียกตามที่ตั้งปราสาท ชาวบ้านที่อาศัยโดยรอบปราสาทตั้งเป็นหมู่บ้าน OTOP มีการทอผ้าไหมทำเป็นเสื้อ กางเกง ผ้าคลุมไหล่ ขาย นอกจากผ้าไหมแล้วยังมีสินค้าที่ทำจากผ้าฝ้ายอีกด้วย ที่ปราสาทเมืองต่ำได้พบนักท่องเที่ยวใส่เสื้อมหาวิทยาลัย Purdue ที่ลูกชายเรียน (เมื่อวานก็พบรุ่นหลานเรียนจาก New York State ที่หมู่บ้านช้าง)

     ขาหมูเป็นอาหารที่ทุกคนมาเที่ยวนางรอง จะต้องแวะมาทาน อาจจะเป็นที่กลับลงมาเกือบ 13:00 น แล้ว  ทุกคนหิวมาก อาหารมื้อนี้มีทั้ง ขาหมู หมั่นโถ เกี่ยมฉ่ายกระเพาะหมู ฮ่อยจ้อ ต้มยำปลาคัง และตบท้ายด้วย รวมมิตร มื้อนี้ทานกันมากกว่า 2 วันที่ผ่านมารวมค่าอาหาร 1,880 บาท(!)(เหลือคูปองเราเที่ยวด้วยกันใช้ส่วนลดได้ 382 บาท เท่านั้น)

 


อ่าน : 0

แชร์ :


เขียนความคิดเห็น