ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติอาหารการกินในสังคมไทยหลัง 2475 | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติอาหารการกินในสังคมไทยหลัง 2475
สินค้าหมด
ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติอาหารการกินในสังคมไทยหลัง 2475

ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติอาหารการกินในสังคมไทยหลัง 2475

ผู้แต่ง : ชาติชาย มุกสง

หนังสือปกอ่อน

฿ 324.00

360.00

ประหยัด 10 %

TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 9789740217879

ISBN : 9789740217879

ปีพิมพ์ : 1 / 2565

ขนาด ( w x h ) : 145 x 210 mm.

จำนวนหน้า : 392 หน้า

หมวดหนังสือ : รัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง

รายละเอียดสินค้า : ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติอาหารการกินในสังคมไทยหลัง 2475

  "การต่อสู้และต่อรองความหมายทางการเมืองด้านรสชาติถูกแฝงไปยังปลายลิ้น หากกลุ่มใดในสังคมสามารถครองอำนาจนำที่ปลายลิ้นได้ ก็ย่อมสามารถครองอำนาจทางการเมืองวัฒนธรรมในระดับมวลชนได้เช่นกัน" 

    หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้นำแนวคิดโภชนาการใหม่เข้ามาปะทะประสานกับการเมืองสมัยใหม่ ผลักดันให้ประชาชนหันมาใส่ใจกับการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งการส่งเสริมอาชีพและอุตสาหกรรมด้านอาหาร ความสำเร็จของการปฏิวัติที่ปลายลิ้นยังได้นำไปสู่กระบวนการช่วงชิงความหมาย และสร้างนิยามมาตรฐานด้านรสชาติอาหารใหม่อีกครั้งของกลุ่มชนชั้นสูงในเวลาต่อมา ชวนลิ้มลองรสชาติของการปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสปรุงแต่งสู่การกินแบบประชาธิปไตย

สารบัญ

บทที่ 1 2475 กับการปฏิวัติรสชาติอาหาร
- รสชาติของมนุษยชาติยากแท้หยั่งถึง
- การปฏิวัติรสชาติในอาหารฝรั่งเศส
- การแพทย์ทฤษฎีธาตุและโภชนาการแบบโบราณ
ฯลฯ

บทที่ 2 เปลี่ยนวิถีการผลิต เปลี่ยนรสเปลี่ยนชาติ
- เนื้อ นม ไก่ กับข้อพิจารณาเรื่องโภชนาการใหม่
- ไก่ การเปลี่ยนแปลงวิถีการเกษตรและการบริโภคของคนไทย
- เนื้อ อาหารโปรตีนสูงราคาต่ำ คำตอบสุดท้ายคือเนื้อไก่
ฯลฯ

บทที่ 3 น้ำตาลกับการประกอบสร้างภูมิทัศน์ ด้านรสชาติอาหารใหม่ในสังคมไทย
- น้ำตาล อุตสาหกรรมแรกเพื่อทดแทนการนำเข้า หลังปฏิวัติ พ.ศ.25475
- ยุคการผลิตน้ำตาลทรายเป็นอุตสาหกรรมชาติ
- ยุคการผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออก และการเมืองเรื่องราคาน้ำตาล
ฯลฯ

บทที่ 4 จากแม่ศรีเรือนถึงแม่บ้านทันสมัย การต่อสู้ทางศีลธรรมและการเมือง วัฒนธรรมของ "อาหารไทย"
- วิชาการเรือนกับบทบาทของสตรี อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน
- ความรู้การเรือนในสังคมไทยสมัยโบราณ โรงเรียนการเรือน
- การอบรมสตรีให้เป็นมารดา อันพึงประสงค์ของประชาชาติ
ฯลฯ

คำนิยม

รสนิยมเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนัก แต่ก็เปลี่ยนแปลงตลอด ลิ้นในฐานะอวัยวะหนึ่งของการรับรสของมนุษย์ถือได้ว่ามีความเป็นอนุรักษนิยมสูง อาหารแบบกินแล้วมีความสุข (comfort food) อันเป็นอาหารที่คุ้นเคยแต่เด็ก ๆ นั้นเป็นอะไรที่ผู้คนมักจะโหยหา การกินกับอุดมการณ์ทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันวิถีชีวิตประจำวันที่คุ้นเคยไม่จำเป็นต้องมีอะไรที่แปลกใหม่ แต่ก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้

รเนศ วงศ์ยานนาวา

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อจริง

0 เต็ม 5 ดาว
0 คน
0
0
0
0
0