มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564
สินค้าหมด
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

ผู้แต่ง : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

หนังสือปกอ่อน

฿ 450.00

500.00

ประหยัด 10 %

TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 9786163960757

ISBN : 9786163960757

ปีพิมพ์ : 2 / 2565

ขนาด ( w x h ) : 0 x 0 mm.

จำนวนหน้า : 0 หน้า

หมวดหนังสือ : วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์

รายละเอียดสินค้า : มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564


ผู้แต่ง คณะกรรมการสาขาไฟฟ้าISBN978-616-396-059-7ปีที่พิมพ์พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565

บทนำในการพิมพ์ปรับปรุง พ.ศ. 2564

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ได้ใช้งานมาแล้วระยะหนึ่งนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์ การติดตั้ง และมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตสายไฟฟ้าที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.11-2553 และ มอก.11 เล่ม 101-2559 ประกอบกับมีข้อบกพร่องบางประการที่ตรวจพบ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ขึ้น มาตรฐานฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ บทที่ 7 บริเวณอันตราย ซึ่งมีเนื้อหามากจึงจำเป็นต้องแยกออกเป็นอีกเล่มต่างหาก โดยในฉบับนี้จะยังคงไว้เฉพาะฉบับย่อเท่านั้น และบทที่ 11 มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า ย้ายไปไว้ในบทที่ 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนั้นบทที่ 11 จึงว่างไว้ #วสท #มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย #วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย #ไฟฟ้า

เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุง เมื่อ พ.ศ.2551 และ 2556 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2564 จึงอาจทำให้หลายหน่วยงานที่อ้างอิงมาตรฐานฯ นี้เกิดความสับสนว่าการอ้างอิงที่ระบุไว้แต่เดิมนั้นยังคงสามารถใช้กับมาตรฐานฯฉบับใหม่นี้ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ ปรับปรุงมาตรฐานฯ จึงมีความเห็นว่า ในการอ้างอิงนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย” เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานฯ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด  #มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย #วสท


สารบัญ (บางส่วน)บทที่ 1 นิยามและข้อกำหนดทั่วไป

ตอน ก. นิยามที่ใช้งานทั่วไป

ตอน ข. นิยามที่ใช้สำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงดันที่ระบุเกิน 1,000 โวลต์ ขึ้นไป

ตอน ค. ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการติดตั้งทางไฟฟ้า

1.101 การต่อทางไฟฟ้า (Electrical Connection)

1.102 ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้า

1.103 เครื่องห่อหุ้มและการกั้นส่วนที่มีไฟฟ้า

1.104 สถานที่ซึ่งบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายทางกายภาพได้

1.105 เครื่องหมายเตือนภัย

1.106 ส่วนที่มีประกายไฟ

1.107 การทำเครื่องหมายระบุเครื่องปลดวงจร

ตอน ง. ระยะห่างทางไฟฟ้า (Electrical Clearance) ในการติดตั้งสายไฟฟ้า

1.108 การวัดระยะห่างทางไฟฟ้า

1.109 ระยะห่างทางไฟฟ้า

บทที่ 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า

2.1 มาตรฐานสายไฟฟ้า

2.2 มาตรฐานตัวนำไฟฟ้า

2.3 มาตรฐานเครื่องป้องกันกระแสเกิน และสวิตช์ตัดตอน

2.4 มาตรฐานหลักดิน และสิ่งที่ใช้แทนหลักดิน

2.5 มาตรฐานช่องเดินสาย รางเคเบิล กล่องสำหรับงานไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบ(Raceway, Cable tray, Box and Fitting Standards)

2.6 มาตรฐานหม้อแปลง

2.7 มาตรฐานบริภัณฑ์และเครื่องประกอบอื่นๆ

2.8 มาตรฐานระดับการป้องกันสิ่งห่อหุ้มเครื่องอุปกรณ์

2.9 มาตรฐานเต้าเสียบ และ เต้ารับ

2.10 มาตรฐานแผงสวิตช์สำหรับระบบแรงต่ำ

2.11 โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

2.12 โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

2.13 มาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับอาร์กฟอลต์

บทที่ 3 ตัวนำประธาน สายป้อน วงจรย่อย

3.1 วงจรย่อย

3.2 สายป้อน

3.3 การป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อยและสายป้อน

3.4 ตัวนำประธาน (Service Conductor)

ตอน ก. สำหรับระบบแรงต่ำ

ตอน ข. สำหรับระบบแรงสูง

3.5 บริภัณฑ์ประธานหรือเมนสวิตช์ (Service Equipment)

ตอน ก. สำหรับระบบแรงต่ำ

ตอน ข. สำหรับระบบแรงสูง

บทที่ 4   การต่อลงดิน                                                                         4 – 1


4.1       วงจรและระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ต้องต่อลงดิน                           4 – 1


4.2       วงจรและระบบไฟฟ้าที่ห้ามต่อลงดิน                                          4 – 1


4.3       การต่อลงดินของระบบประธาน                                                4 – 1


4.4       การต่อลงดินของอาคารที่รับไฟจากสายป้อนหรือวงจรย่อย             4 – 2


4.5       ตัวนำที่ต้องมีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ                   4 – 3


4.6       การต่อลงดินสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก 4 – 3


4.7       การต่อลงดินของเครื่องห่อหุ้มและ/หรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะของตัวนำประธาน

และของบริภัณฑ์ประธาน                                                        4 – 3


4.8       การต่อลงดินของเครื่องห่อหุ้มและ/หรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะของสายตัวนำ                                                                                  4 – 4


4.9       การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร                                                                                   4 – 4


4.10      การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน      4 – 4


4.11      การต่อลงดินของบริภัณฑ์ซึ่งไม่ได้รับกระแสไฟฟ้าโดยตรง               4 – 5


4.12      การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ                  4 – 5


4.13      ระบบป้องกันฟ้าผ่า                                                                4 – 6


4.14      วิธีต่อลงดิน                                                                           4 – 6


4.15      การต่อฝาก                                                                           4 – 8


4.16      ชนิดของสายต่อหลักดิน                                                        4 – 10


4.17      ชนิดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า                                          4 – 10


4.18      วิธีการติดตั้งสายดิน                                                              4 – 10


4.19      ขนาดสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ                        4 – 11

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ลูกค้าที่ซื้อสินค้านี้ ซื้อสินค้านี้ด้วย

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อจริง

0 เต็ม 5 ดาว
0 คน
0
0
0
0
0