หนังสือปกอ่อน
฿ 810.00
900.00
ประหยัด 10 %
Barcode : 9786169423218
ISBN : 9786169423218
ปีพิมพ์ : 2 / 2566
ขนาด ( w x h ) : 0 x 0 mm.
จำนวนหน้า : 578 หน้า
หมวดหนังสือ : สถาปัตยกรรม
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก
เมื่อมนุษย์ไม่ใช่ผู้ที่อยู่เหนือธรรมชาติ จึงเกิดการค้นหาแนวทางแห่งการหลุดพ้น ที่ต่อมาพัฒนาจนเป็นศาสนา เทพเจ้าถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากความเชื่อตามหลักการธรรมชาติที่มีมาแต่เดิม ศาสนาจึงเปรียบเสมือนจุดยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของผู้คน การสร้างสถาปัตยกรรมในช่วงแรกสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรม การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตัวอาคารจึงออกแบบสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อ แนวคิดทางศาสนาให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด เมื่อศาสนาได้ถูกเผยแผ่ออกไปยังดินแดนต่าง ๆ จึงเกิดการแลกเปลี่ยนอิทธิพลในด้านต่าง ๆ ระหว่างกันสถาปัตยกรรมตะวันออกเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นการผสมผสานวัฒนธรรมจากภายนอกกับความเชื่อท้องถิ่น ทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมมีเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัว ที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย มีมิติของการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงคลี่คลายรูปแบบจากแบบแผนดั้งเดิมให้ตรงตามรสนิยมของแต่กลุ่มชนได้อย่างลงตัว
เนื้อหาภายในหนังสือ “ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก อิทธิพล คติความเชื่อ และความหมายสถาปัตยกรรม” จะเริ่มกล่าวถึงต้นแบบของอารยธรรมคืออินเดีย หลักการแนวความคิดทางศาสนาที่เป็นต้นกำเนิดของแนวความคิดในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมรูปแบบต่าง ๆ การแบ่งเรื่องราวตามประเภทของสถาปัตยกรรม เช่น เจดีย์ เทวาลัย วัดถ้ำ วิหาร กำแพงเมือง พระราชวัง สุสาน เป็นต้น นำเสนอกระบวนการวิเคราะห์มูลเหตุ แนวความคิดในการออกแบบที่เป็นปัจจัยที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม รวมถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏจะทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลจากดินแดนต้นกำเนิดที่ประเทศอินเดียมาสู่สถาปัตยกรรมตะวันออกในดินแดนต่าง ๆ ในหลายพื้นที่ เช่น เกาะลังกา เนปาล ทิเบต จีน ญี่ปุ่น รวมถึงดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น กลุ่มหนังสือสารคดี ด้านศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และชีวประวัติ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ.2565