เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย
สินค้าหมด
เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย

เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย

ผู้แต่ง : ชัชพล เกียรติขจรธาดา

หนังสือปกอ่อน

฿ 287.00

319.00

ประหยัด 10 %

TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 9786165659635

ISBN : 9786165659635

ปีพิมพ์ : 1 / 2563

ขนาด ( w x h ) : 130 x 200 mm.

จำนวนหน้า : 294 หน้า

หมวดหนังสือ : วิทยาศาสตร์ทั่วไป

รายละเอียดสินค้า : เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย

ในขณะที่ปัญหาโรคติดเชื้อของมนุษย์ลดลงเรื่อย ๆ ก็เกิดโรคใหม่ ๆ ที่เป็นปัญหาขึ้นมาแทนที่ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคภูมิแพ้ หอบหืด แพ้อากาศ ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้อาหารต่าง ๆ รวมไปถึงโรคลำไส้อักเสบ

เราเรียกโรคใหม่ ๆ เหล่านี้รวมกันว่า “โรคไม่ติดต่อ”
ยิ่งประเทศที่มีเศรษฐานะและการสาธารณสุขดีขึ้น กลับยิ่งเหมือนว่าโรคเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นตาม
คำถามหนึ่งที่น่าสนใจจึงเกิดขึ้นว่า ทั้ง 2 สิ่งนี้เกี่ยวข้องกันไหม
ความรวยและความสะอาดของประเทศมีผลให้โรคต่างๆเหล่านี้เพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ ?
หมอและนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีการทดลองนำไข่พยาธิและอุจจาระมารักษาผู้ป่วยในปีค.ศ. 1924 หมาป่าตัวสุดท้ายของอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนก็ถูกยิงตายไป
หลังจากนั้นไม่นาน ความผิดปกติหลายอย่างที่หาคำอธิบายไม่ได้ก็เริ่มเกิดขึ้น เสียงนกที่เคยร้องระงมอยู่ทั่วไปในป่าเริ่มจางหายไป ต้นไม้ใหญ่เริ่มมีจำนวนลดลง สัตว์เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง กบ งู ปลา ก็ลดลง ๆ จนเห็นได้ชัด แต่ที่แปลกสุดคือแม่น้ำสายใหญ่ที่เคยวิ่งเป็นเส้นตรงก็เริ่มคดเคี้ยวมากขึ้น

ไม่มีใครบอกได้ว่า เกิดอะไรขึ้นกับระบบนิเวศ ไม่มีใครเห็นว่าหมาป่ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆเชื่อมโยงกันได้อย่างไร
อีก 40 ปีให้หลัง ชายคนหนึ่งก็เริ่มนำชะแลงไปงัดปลาดาวออกจากโขดหินและโยนลงทะเล
การโยนปลาดาวลงทะเลของเขาจะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการทำงานของระบบนิเวศมากขึ้น
และที่แปลกกว่านั้นคือ การโยนปลาดาวในวันนั้น ยังทำให้หมอเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์เพิ่มขึ้นอีกด้วยคำถามที่หมอไวน์สต็อกถามตัวเองคือ ในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ เพิ่มขึ้นถึง 40 กว่าการที่โรคซึ่งเดิมพบน้อยมากกลับเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ บ่งให้เห็นว่าอาจจะมีบางอย่างในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น

คำถาม ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคคืออะไร ?
หมอไวน์สต็อค ไม่สามารถหาปัจจัยที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ หรือว่าจริงๆแล้วต้องคิดกลับทิศ เพราะอาจจะไม่ใช่ปัจจัยที่ก่อโรคเพิ่มขึ้น
แต่เป็นปัจจัยที่เคยป้องกันไม่ให้เกิดโรค “หายไป” ปัจจัยที่หายไปนั้นคืออะไร ?

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ลูกค้าที่ซื้อสินค้านี้ ซื้อสินค้านี้ด้วย

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อจริง

0 เต็ม 5 ดาว
0 คน
0
0
0
0
0