อี-บุ๊ค
฿ 150.00
150.00
ประหยัด 0 %
Barcode : 3000000017015
หมวดหนังสือ : วารสารสาขาสังคมศาสตร์
บทความทางวิชาการในวารสารวิชาการศาลปกครอง ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) 2565 มีอยู่ด้วยกันจำนวน 7 บทความ บทความแรก เป็นบทความ เรื่อง ลักษณะการใช้อำนาจของสภาวิชาชีพ : นิติกรรมทางปกครองและนิติกรรมทางตุลาการ โดย คุณภัคเดช คมสัน ที่ศึกษาและอธิบายลักษณะการใช้อำนาจของสภาวิชาชีพที่มีลักษณะเป็นการออกกฎหรือคำสั่งที่เป็นนิติกรรมทางปกครอง ในขณะเดียวกัน ในบางกรณีก็มีการออกคำสั่งในลักษณะของนิติกรรมทางตุลาการ การใช้อำนาจผ่านเครื่องมือทั้งสองนี้ของสภาวิชาชีพจะมีความแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร บทความที่สอง คือ บทความ เรื่อง ความเป็นไปได้ในการฟ้องขอให้เพิกถอน “คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด”ตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ต่อศาลปกครอง : ศึกษากรณีคาสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดย คุณวันรัฐ งามนิยม ที่ศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบคำสั่งของฝ่ายปกครองว่า ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้คำสั่งของเจ้าหน้าที่เป็นที่สุดนั้นคำว่า “เป็นที่สุด” หมายความว่าอย่างไร และศาลปกครองสามารถเข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งที่เป็นที่สุดนั้นได้หรือไม่ บทความที่สาม คือ บทความ เรื่อง วัตถุแห่งคดีในคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ในระบบกฎหมายเยอรมัน ศึกษาเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายไทย โดย คุณนิติกร ชัยวิเศษ ที่ศึกษาเปรียบเทียบวัตถุแห่งคดีในคำฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคำสั่งทางปกครองชั้นต้นและคาวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อหาข้อสรุปว่าวัตถุแห่งคดีในคดีประเภทนี้ควรจะเป็นสิ่งใด บทความที่สี่ เป็นบทความ เรื่อง คดีปกครองเกี่ยวกับการสอบแข่งขันเข้ารับราชการของประเทศฝรั่งเศส โดย คุณวิศรุต คิดดี ที่ได้อธิบายถึงเนื้อหาสาระหลักการและความสำคัญของการสอบแข่งขันเข้ารับราชการของประเทศฝรั่งเศส รวมถึงได้อธิบายวิธีจัดการข้อพิพาทอันเกิดจากการสอบแข่งขันด้วย ซึ่งเป็นบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลภาครัฐที่หาอ่านได้ไม่บ่อยนัก บทความที่ห้า และบทความที่หกเป็นบทความ เรื่อง การทุเลาการบังคับตามคาสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายเยอรมัน : ศึกษากรณีคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และบทความ เรื่อง การรับฟังคู่กรณีในชั้นการพิจารณาของศาลและในชั้นการพิจารณาของฝ่ายปกครองในระบบกฎหมายเยอรมันเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายไทยโดย คุณนฤมล ขณะรัตน์ บทความที่ห้าจะเป็นการศึกษาความหมายและความสาคัญของการทุเลาการบังคับตามคาสั่งทางปกครองในชั้นการพิจารณาคดีของศาล โดยศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายเยอรมันกับกฎหมายไทย และเน้นศึกษาเกี่ยวกับคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเภทคดีที่การทุเลาการบังคับตามคาสั่งทางปกครองจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทาลายลงในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ส่วนความเหมือนและความต่างระหว่างระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายเยอรมันจะเป็นอย่างไร สามารถติดตามอ่านได้ในบทความ บทความที่หก จะเป็นการศึกษาเรื่องหลักการรับฟังคู่กรณี โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการรับฟังคู่กรณีในชั้นการพิจารณาของฝ่ายปกครองกับการรับฟังคู่กรณีในชั้นการพิจารณาคดีของศาลว่ามีหลักการอย่างไร มีความเหมือนหรือต่างกันในแง่ใดบ้าง และยังได้อธิบายถึงวิธีการโต้แย้งของคู่กรณีในกรณีที่คู่กรณี ถูกละเมิดสิทธิที่จะได้รับการรับฟังทั้งในชั้นฝ่ายปกครองและศาลอีกด้วย บทความสุดท้ายบทความที่เจ็ด เรื่อง ความหมายและการตีความ “ประโยชน์แก่ส่วนรวม” ในการพิจารณาคดีปกครอง โดย คุณวิชญ์พาสพิมพ์อักษร ที่ให้ทัศนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตีความคาว่า “ประโยชน์แก่ส่วนรวม” ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 อันเป็นข้อยกเว้นประการหนึ่งที่จะทาให้ศาลปกครองรับคาฟ้องที่ยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกาหนดไว้พิจารณาได้ นอกจากนี้ในบทความยังได้วิเคราะห์เปรียบเทียบคาว่า “ประโยชน์แก่ส่วนรวม” กับคาว่า “ประโยชน์สาธารณะ”อีกด้วยว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร