Episode 1 : เดือน ก.พ. แล้ว เตรียมพร้อมสอบ ก.พ. แล้วรึยัง

        เชื่อว่าอาชีพข้าราชการเป็นหนึ่งในความฝันของใครหลายๆ คน และเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นวันแรกของการเปิดรับสมัครสอบ ก.พ. ภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. และเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 800,000 ที่นั่ง ซึ่งสามารถสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ https://www.ocsc.go.th/blog/2019/03/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%9E-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2562

        สมัครสอบก็ว่ายากแล้ว ข้อสอบในแต่ละปีก็ยากเหมือนกัน หลายคนคงเริ่มวางแผนการเตรียมตัวสอบกันแล้ว ซึ่งก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน แต่ด้วยยุคเศรษฐกิจในตอนนี้อะไรประหยัดได้ก็ประหยัด "การอ่านหนังสือสอบเอง" จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมและประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะเลยค่ะ

        "การอ่านหนังสือสอบเอง" ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินที่เราจะทำได้ ซึ่งขั้นตอนแรกของการอ่านหนังสือสอบเองสำคัญที่สุดเลยค่ะ นั่นก็คือ 'การเลือกหนังสือ'

         วิธีการเลือกหนังสือมีความสำคัญอยู่ 2 เรื่องค่ะ 1. อ่านแล้วเราเข้าใจ และ 2. เนื้อหาครอบคลุมในเรื่องที่จะออกสอบ แต่ถ้าจะให้ไปเลือกซื้อเองดูทีละเล่ม หรือในบางครั้งก็ไม่ว่างที่จะไปเลือกซื้อ การอ่าน #รีวิวหนังสือ จึงเป็นทางเลือกในการช่วยการตัดสินใจในการซื้อหนังสือที่ทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายค่ะ

        หลังจากเกริ่นมายาวมากพอสมควร ก็ขอต้อนรับเข้าสู่การรีวิวหนังสือ " คู่มือเตรียมสอบ ก.พ. ภาค ก. ระดับ 3 (ปริญญาตรี) " โดย อ.กษิติ์เดช สุนทรานนท์ ซึ่งเนื้อหาภายในหนังสือมีแนวข้อสอบมากกว่า 690 ข้อ ซึ่งแบ่งข้อสอบออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประกอบไปด้วย 3 บท

  • บทที่ 1 การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ

ตัวอย่างภายในหนังสือ : เรื่อง "อัตราส่วน" คือรูปแบบการเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไป ใช้สัญลักษณ์ a : b

หรือเขียนในรูปเศษส่วน

        ตัวอย่างที่ 1  ให้ a : b = 2 : 3 และ b : c = 5 : 7 จงหาอัตราส่วน a : b : c

        วิธีทำ           จะพบว่าสองอัตราส่วนมี b เหมือนกันคือ b = 3 และ b = 5

                           ค.ร.น. ของ 3 และ 5 คือ 15

                           จะได้ a : b = 2 x 5 : 3 x 5 = 10 : 15

                           และ b : c = 5 x 3 : 7 x 3 = 15 : 21

                           ดังนั้น a : b : c = 10 : 15 : 21

  • บทที่ 2 การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม

ตัวอย่างภายในหนังสือ : เรื่อง "อุปมาอุปไมย" มีความหมายโดยสรุปว่า การเปรียบเทียบกัน โจทย์จะกำหนดคำมาให้คู่หนึ่งโดยมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้พิจารณาความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้วเลือกคำตอบที่สอดคล้องกับคำคู่ที่กำหนดให้มากที่สุด

        ตัวอย่างที่ 1 ผักบุ้ง : ผักทอดยอด --> ? : ?

  1. ถ้ำ : คูหา
  2. โจโฉ : สามก๊ก
  3. นก : วายุภักษ์
  4. สากกะบือ : ไม้ตีพริก

ตอบข้อ 4 เพราะ มีความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นคำสุภาพ ผักบุ้ง : ผักทอดยอด (คำสุภาพของผักบุ้ง) --> สากกะบือ : ไม้ตีพริก (คำสุภาพของผักบุ้ง) 

  • บทที่ 3 การวิเคราะห์เชิงภาษา

ตัวอย่างภายในหนังสือ : เรื่อง "การสรุปบทความ" ข้อสอบส่วนใหญ่จะเป็นคำถามเกี่ยวกับ การตีความ, สรุปสาระสำคัญ, ความเห็นผู้เขียน, การตั้งชื่อเรื่อง ฯลฯ โดยแนวคิดในการทำข้อสอบ มีดังนี้

  1. อ่านโจทย์และทำความเข้าใจว่าโจทย์ถามอะไร
  2. อ่านตัวเลือกในข้อสอบก่อนอ่านบทความ
  3. อ่านบทความเพื่อหาคำตอบ

         ตัวอย่างที่ 1 จิตรกรรมของประเทศแถบยุโรปส่วนใหญ่จะสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาคริสต์ ซึ่งเน้นเรื่องราวในพระคัมภีร์ตามความเชื่อทางศาสนา และตำนานปรัมปราที่มีชื่อเสียงในอดีต ดังนั้นงานด้านจิตรกรรมจึงแสดงออกซึ่งความเชื่อทางศาสนาและตำนานเป็นส่วนใหญ่

        ข้อใดคือสาระสำคัญของบทความข้างต้น

  1. ตำนานปรัมปรามีอิทธิพลต่อจิตรกรรมของชาวยุโรป
  2. จิตรกรรมของชาวยุโรปเน้นเฉพาะความเชื่อทางศาสนาเท่านั้น
  3. จิตรกรรมของชาวยุโรปเน้นเฉพาะตำนานปรัมปราเท่านั้น
  4. ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมส่วนใหญ่ของชาวยุโรป

ตอบข้อ 4 เพราะ จากบทความจะพบว่า กล่าวถึงอิทธิพลของศาสนาที่ส่งผลต่อจิตรกรรมส่วนใหญ่ของชาวยุโรป

 

ส่วนที่ 2 ภาษาอังกฤษ ประกอบไปด้วย 4 บท

  • บทที่ 1 Grammar

ตัวอย่างภายในหนังสือ : Part of Speech มีอยู่ 8 ชนิด คือ

  1. Noun : คำนาม (คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่)
  2. Pronoun : คำสรรพนาม (คำที่ใช้แทนคำนาม)
  3. Adjective : คำคุณศัพท์ (คำขยายคำนาม)
  4. Adverb : คำกริยาวิเศษณ์ (คำขยายกริยา ฯลฯ ยกเว้นนาม กับ สรรพนาม)
  5. Verb : คำกริยา (อาการกระทำของประธาน)
  6. Conjunction : คำสันธาน (คำที่ใช้เชื่อมอนุประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป)
  7. Preposition : คำบุพบท (คำที่ใช้เชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ)
  8. Interjection : คำอุทาน (คำที่เปล่งออกมาลอยๆ เพื่อแสดงความรู้สึกของอารมณ์)
  • บทที่ 2 Sentence Structure and Conversation

ตัวอย่างภายในหนังสือ : Peter watches a movie. (ปีเตอร์ดูภาพยนตร์)

Peter เป็นประธานของประโยค คือ ผู้กระทำอาการ

watches เป็นคำกริยา แสดงถึงอาการของ Peter

  • บทที่ 3 Vocabulary and Expression (ในส่วนนี้ขออนุญาตสรุปสั้นๆ ของเนื้อหาภายในหนังสือนะคะ)

ตัวอย่างภายในหนังสือ : เทคนิคการเพิ่มคำศัพท์ให้กับตัวเองมากขึ้น

  1. อ่าน ควรอ่านให้มาก อ่านอะไรก็ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคืออ่านในสิ่งที่คุณสนใจก่อน
  2. เขียน เขียนให้ได้มากที่สุด เราควรมีสมุดจดบันทึกไว้จดหรือฝึกการเขียน
  3. เรียนรู้รากศัพท์ (Roots) คำเสริมหน้า (Prefixes) คำเสริมท้าย (Suffixes) 
  • บทที่ 4 Reading Comprehension

ตัวอย่างภายในหนังสือ : "ย่อหน้า (Paragraph)" คือ กลุ่มประโยคที่กล่าวถึงหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะอธิบาย นิยามหรือขยายความคิด หัวข้อเรื่องเดียวกัน ซึ่งในแต่ละย่อหน้าจะประกอบด้วย

  1. หัวเรื่องหรือชื่อเรื่อง (Topic หรือ Title)
  2. ใจความสำคัญ (Main Idea หรือ Topic Sentence) เกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น
  3. รายละเอียดที่อธิบายหรือเสริมความของใจความสำคัญ (Supporting Details)

 

ส่วนที่ 3 ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ประกอบไปด้วย 2 บท

  • บทที่ 1 พระราชบัญญัติและพระราชกฤษฏีกาที่เกี่ยวข้อง (ในส่วนนี้ขออนุญาตข้ามเนื้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ต่างๆ นะคะ)

ตัวอย่างภายในหนังสือ : ข้อสอบ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ใกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องต่อใคร

  1. ผู้ว่าราชการจังหวัด
  2. พนักงานอัยการ
  3. ศาล
  4. ปลัดจังหวัด

ตอบข้อ 2 เพราะในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการ (ม.61/2 วรรคเจ็ด)

  • บทที่ 2 หน้าที่และการปฎิบัติหน้าที่ราชการ (ในส่วนนี้ขออนุญาตข้ามเนื้อหาที่เกี่ยวข้องต่างๆ นะคะ)

ตัวอย่างภายในหนังสือ : ข้อสอบ ข้อใดไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง

  1. เจ้าหน้าที่ตำรวจออกใบสั่งให้ผู้ทำผิดกฎ
  2. ผู้ว่าฯ ไม่อนุญาตให้มีการสร้างคอนโดมิเนียม
  3. เจ้าอาวาสลงโทษสามเณรให้ถูพื้นอุโบสถ
  4. สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่

ตอบข้อ 3 เพราะ ไม่ใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5

 

        สุดท้ายนี้หากท่านใดสนใจและรู้สึกว่าเข้าใจเนื้อหาบางส่วนภายในเล่มที่ผู้เขียนได้นำเสนอ สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ของ "Chulabook" ได้ที่ https://m.chulabook.com/product-details/104577-%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%20%E0%B8%81.%E0%B8%9E.%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%20%E0%B8%81.%20%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%203%20?fbclid=IwAR2z4tFPtX0_RG2c3sFU7LfBNhiWOORMVXmTkcuIrPhn6YdK5-n8Wycx-vY ซึ่งจะได้ส่วนลดในการสั่งซื้อ 10% จากราคาเต็ม 450 บาท เหลือเพียง 405 บาทเท่านั้น ลดเยอะขนาดนี้ต้องตำด่วน!!!

         ได้หนังสือถูกใจ แถมยังปลอดภัยและประหยัด ต้องยกให้  "Chulabook" เลยค่ะ แล้วพบกับการรีวิวหนังสือใหม่ๆ ในครั้งต่อไปนะคะ ^^


View : 0

Share :

Write comment