Episode 1 : เรียนรู้ 30 เคล็ดวิชา จุดประกายความคิดและพลังสร้างสรรค์ในการทำงาน กันเถอะ

                วันนี้มีหนังสือน่าอ่าน 2022 มาแนะนำ รับรองได้ว่าได้ข้อคิดจุใจและเป็นประโยชน์อย่างแน่นอน หลายคนอาจเคยได้ยินหรือเคยอ่านหนังสือหาเรื่องดี ๆ ใส่ตัว (หนังสือฮาวทู ธุรกิจ) 30 เคล็ดลับจุดประกายความคิดและพลังสร้างสรรค์ในการทำงานเล่มนี้ ไม่มากก็น้อย  แม้จะเอามาอ่านอีกครั้งในยุค 2022 ก็ไม่เอ้าว์หรือตกเทรนด์แน่นอน เพราะเราจะได้เกร็ดสาระ ข้อคิดดี ๆ ตกตะกอนทุกครั้งที่เราได้อ่านหรือกลับาดูหนังสือเล่มอีกครั้งอย่างแน่นอน

                ถ้านึกถึงบุคคลที่เป็นตัวอย่างอย่าง โสกราตีส นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ กล่าวว่า “การรู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไรนั้นเป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่ทีสุด และคนรอบรู้ที่สุดจะบอกว่าเขาไม่รู้อะไรเลย” และสำหรับ 30 เคล็ดลับนั้น บอกได้เลยว่าเด็ดและเฉียบ เอาไปใช้ได้จริง ผู้อ่านจึงขอแนะนำ Content ที่น่าสนใจ ได้แก่ เชื่อ/คิด/ทำ  /  "เรา"ต่างทำเพื่อองค์กร / แสงสว่าง...ในตัวเราเอง / ให้ความ "ชอบ" นำทาง / เราเป็นคนล้มเหลวเมื่อเริ่มตำหนิผู้อื่น / เรากำลังเหนื่อยสองอย่างอยู่หรือเปล่า / มองเพื่อนร่วมงานอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่อย่างที่เราคิด / พูดกันดี ๆ ก็ได้ / เรียบ ๆ ง่าย ๆ ตรงไปตรงมา เป็นต้น

                ผู้อ่านจึงขออนำเนื้อหาตัวอย่างจากหัวข้อ เชื่อ/คิด/ทำ Content แรกที่น่าในมากระตุ้นให้มีความรู้สึกว่าถ้าพลาดหนังสือเล่มนี้จะเสียดายที่ไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์กับตัวเรา

                ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุุคคลพูดถึงแนวคิดของการนำงานด้านการตลาดมาเชื่อมโยงกับการบริหารงานบุคคลได้อย่าลงตัวและน่าสนุก คนทำงานด้านการตลาดแบบผมเลยอยากลงอขอแลกเปลี่ยนความคิดด้วยการพูดถึงการบริหารงานบุุคคลจากมุมมองของนักการตลาดดูบ้าง

                ก่อนอื่นผมขอกราบเรียนท่านผู้อ่านด้วยความเคารพ โดยเฉพาะท่านผู้มีเชี่ยวชาญในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือกำลังทำงานด้านนี้ทุกท่านว่า ผมมิได้มีแนวคิดที่จะทำตัวเป็นเณรน้อยบังอาจสอนธรรมะให้กับสังฆราช หรือคิดจะสอนไมเคิล เฟลป์ส (Michael Pheips) แชมป์โอลิมปิก ว่าควรว่ายน้ำอย่างไร

                 แต่ผมมั่นใจว่า การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสิ่งดีงามและก่อให้เกิดข้อคิด หรือแม้แต่ความคิดเห็นที่ต่างกันก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย หากตั้งอยู่บนพื้นฐานขอความเข้าใจ ซึ่งบริษัทที่ผมทำงานอยู่เดิม คือบริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี ได้ปลูกฝังแนวคิดในการทำงานเช่นนี้มาโดยตลอด

               ความสัมพันธ์ของงานการตลาดกับการบริหารทรัพยากรบุุคคลที่ผมมีโอกาสได้เรียนรู้เกิดขึ้นจาก 3 คำ ต่อไปนี้

                เชื่อ - คำแรกที่ผมขอพูดถึงคือความเชื่อที่ว่า การตลาดนั้นเป็นกระบวนการ หมายถึงปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ความคิดในการหาความแตกต่างของสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าหรือกลุ่มเป่าหมาย ไปจนถึงกระบวนการส่งมอบสินค้าและบริการนั้น ๆ ให้กับลูกค้า รวมถึงการเรียนรู้ความพึงพอใจของสินค้าและบริการน้้น ๆ ให้กับลูกค้า เพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือทำให้ดียิ่งขึ้น

                เพราะวันนี้ไม่ใช่แค่เราผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถขายสินค้าและบริการ แต่ยังมีคู่แข่งอีกมากมายที่พร้อมแย่งชิงลูกค้าไปจากเรา หรือลูกค้าเองก็มีทางเลือกอีกมาก หากเราบกพร่องหรือไม่ดีพอสำหรับเขา

                มีหนังสือทางการตลาดเล่มหนึ่งเขียนว่า "Marketing is not an event, but a process" ผู้เขียนคือเจย์ คอนราด เลวินสัน (Jay Conrad Levinson) ซึ่งเคยเขียนหนังสือทางการตลาดโด่งดังมากเมื่อหลายปีก่อน ชื่อ Guenilla Marketing  

               คิด - บางทีความเชื่อข้างต้นก็อาจเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างรู้เหมือนกันแต่ไม่ได้ทำ เหมือนกับทีเรารู้ว่าการออกกำลักายทำให้เราแข็งแรง แต่บางคนยังไม่ได้ทำ ด้วยเหตุผลคล้าย ๆ กัน คือ ไม่มีเวลา หรืออาจเป้นเหตุผลอื่น ๆ ที่สุดท้ายคือการไม่ได้ออกกำลังกาย 

               เมื่อเกิดความเชื่อ สิ่งที่ตามมาควรเป็นกระบวนการคิดร่วมกัน ทั้งนี้ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นอย่างไรก็ตาม หากเราอยากเห็นการขับเคลื่อนกระบวนการทางการตลาด หรือแม้แต่การเตรียมความพร้อมขององค์กรให้แข็งแกร่ง ให้พร้อมกับการแข่งขัน และยืนหยัดประคองตัวให้รอดพ้นจากวิกฤติหรือปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น การคิดพร้อมการจับเข่าคุยกันระหว่างคนทำงานด้านการตลาดและฝ่ายบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อเตรียมให้คนในองค์กรพร้อมรับปัญหาและจับมือเดินไปในทิศทางเดียวกัน

               หากทีมกาตลาดและฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลจะนั่งคิดและวางแผนร่วมกันคงดีไม่น้อย ขณะที่ทีมการตลาดรู้จักผลิตภัณฑ์และวิธีการสื่อสารด้วยความคิดและเครื่องมือที่สร้างสรรค์ ทางฟากทีมผู้บริหารทรัพยากรบุคคลรู้จักพนักงานและวิธีการเข้าถึงพนักงานอย่างเหมาะสม เอาสองความคิดมาเกื้อหนุนให้เกิด One for All และ All for One

               นอกจากนี้ การคิดร่วมกัน จะทำให้กำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ได้อย่างชัดเจน ไม่เกิดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน รวมถึงยังช่วยจัดสรรงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะยุคนี้การใช้จ่ายขององค์กรเป้นเรื่องสำคัญ

               ทำ - การลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่ลงมือทำสิ่งที่คาดหวังก็จะไม่เกิด เพียงแต่ผมนำเรื่องความคิดมาคั่นกลางระหว่างความเชื่อและการลงมือทำ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทบทวนและไตร่ตรองให้รอบคอบสักนิด จะได้ไม่เกิดปัญหาใด ๆ จากความตั้งใจที่ดี

              ชีวิตลูกจ้างสอนให้ผมรู้ว่า ในการทำงานนั้นมีสองอย่างที่เราต้องคิดควบคู่กันไป อย่างแรกคือตัวงาน หมายถึงเป้าหมายหรือผลงานที่เราต้องการให้เกิดขึ้น อีกอย่างคือวิธีการทำงาน บางครั้งงานที่เราตั้งใจทำอย่างดี อาจประสบความสำเร็จ แต่หากระหว่างการทำงานขาดความระมัดระวัง ก็อาจเกิดการกระทบกระทั่งกับเพื่อนร่วมงานโดยไม่ตั้งใจก็ได้

                ผมชอบวิธีคิดทางบวกของปรมาจารย์ทางด้านงานโฆษณาท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นอดีตผู้ก่อตั้งบริษัทโฆษณาชั้นนำของโลก ชื่อว่า ลีโอ เบอร์เนทท์ (Leo Burnett) กล่าวว่า

               "When you reach foer the stars you may not quite get one, but you won't come up with a handful of mud either"

                ถ้าเราลองเอื้อมมือไปไขว่ขว้าดวงดาว แม้ไจะม่ได้อะไรเลย แต่อย่างน้อยมือเราก็คงไม่คว้าได้โคลนตมมา และถ้าหากเราเริ่มก้าวเดินหรือวิ่งออกกำลัง เราอาจไปได้ไม่ถึงระดับเหรียญทองโอลิมปิก แต่ที่แน่ ๆ เราจะแข็งแรงขึนกว่านอนหรือนั่งอยู่เฉย ๆ อย่างหมดอาลัยตายกอยาก

                 เชื่อ คิด และทำตามวิถีที่คุณคิดว่าเหมาะสมกับองค์กรของคุณเอง โดยไม่จำเป้นต้องเชื่อผม เพราะการนำองค์กรไปสู่ชัยชนะ ไม่มีสูตรสำเร็จหรอกครับ

                จะเห็นได้ว่าหนังสือ “หาเรื่อง(ดี ๆ) ใส่ตัว” จึงเป็นอีกหนึ่งคำตอบของการเติมเต็มความไม่รู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของคนเรา รวบรวมจากคอลัมน์ “คิดข้ามฟาก” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดยคุณประภาส ทองสุข นักการตลาดมืออาชีพ ผู้ชายอารมณ์ดี ถือคติประจำกายว่า “เมื่อไม่รู้จึงต้องยิ่งเรียนรู้”

               นอกจากนี้ เรายังได้เข้าใจคำว่า "คิดข้ามฟาก" คือการนำเสนอความคิดของคนทำงานด้านการสื่อสารทางการตลาด  ที่ต้องการนำแนวคิดและหลักการของการสื่อสารทางการตลาดมาปรับใช้ในงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และยังรวมถึงการนำเสนอแนวคิดการสื่อสารกับตัวเราเอง เพื่อปรับทัศนคติที่เรามีต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กรที่ทำงาน

                ผู้เขียนได้ขวนขวายหาคำตอบในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้จากที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง การสนทนากับผู้อื่น การสังเกตและการรับฟังสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แล้วถ่ายทอดเรื่องราวดี ๆ เหล่านี้อย่างละเมียดละไม

                ทั้งผู้เขียนกล่าวต่ออีกว่า วิธีการเขียนหรือนำเสนอความคิดจะเป็นแบบ "เล่าสู่กันฟัง" หรือวิธีการที่เรียกว่า "Articulation" หมายถึงการปะติดปะต่อทางความคิด หรือการเอาเหตุการณ์และความคิดหลาย ๆ เรื่องมาเชื่อมโยงและร้อยเรียงต่อกันเป็นเรื่องเดียว คล้ายกับวิธีการเล่าเรื่องขอภาพบนตร์ฝรั่งเรื่องหนึ่งที่ชื่อว่า "Love Actually" ซึ่งเป็นการผูกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของตัวละครหลากหลายในเรื่องมาขมวดท้ายเรื่องให้เกี่ยวข้องกัน

มาดูต่อว่าภาพตัวอย่างเนื้อหาไหนน่าสนใจบ้างงง!!!!!

     

                

                อย่างไรก็ตาม การนำเสนอความคิดจะไม่ใช่การตัดสินว่า เรื่องแบบไหนถูกหรือผิด ดีหรือเลว เพราะบางครั้งคนเราอยู่ในสถานการณ์แวดล้อมหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ย่อมมองเห็นปัญหาและเลือกตัดสินใจที่แตกต่างกันออกไป

                หนังสือเล่มนี้อัดแน่นด้วยหลักการและหัวใจของการสื่อสารทางการตลาด การบริหารคน การบริหารงานมืออาชีพ วิธีสร้างสรรค์ไอเดียในการทำงาน การสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ คำคม ข้อคิดชีวิต และอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ผ่านเทคนิคการเล่าอย่างสนุกสนาน เข้าใจง่าย และปฏิบัติได้จริงเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของผู้อ่านและต่อยอดไปสู่การทำเรื่องดี ๆ ในชีวิต

 


View : 0

Share :

Write comment