# | ชื่อตอน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | 1 | น้ำเต็มแก้ว | 01 ก.ย. 2566 | 125 | 0 | 1 | อ่าน | ![]()
แล้วคุณไม่สงสัยบ้างเหรอว่า แก้วอะไรที่ใส่น้ำแล้วไม่มีทางเต็ม ถ้าเทน้ำลงแก้วอย่างไรมันก็ต้องเต็ม เต็มแล้วก็ล้น นอกจากแก้วรั่วเท่านั้นที่เติมอย่างไรก็ไม่มีทางเต็ม เขาเปรียบการศึกษาหาความรู้ว่าเป็นการหงายแก้วเพื่อรอรับน้ำ ถ้าใครเป็นน้ำเต็มแก้วก็ไม่สามารถเรียนรู้อะไรเพิ่มได้ ถ้าจะว่าไปแล้วนั่นไม่ใช่ความผิดของผู้เรียนเลยนะ เพราะเป็นความท้าทายของคนสอนต่างหากจะสอนอย่างไรในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วหรือจะสอนสิ่งใหม่ แต่สำคัญอยู่ที่สอนอย่างไรไม่ให้น้ำล้น เพราะถ้าฝืนสอนเรื่องที่เขารู้แล้วชำนาญแล้วก็ไม่มีทางเติมน้ำลงในแก้วได้อาจทำให้ล้นเสียด้วยซ้ำ สิ่งแรกที่ต้องย้อนกลับมาทบทวนคือระบบการศึกษาที่เราสอนเด็กแข่งกันเก่งฉลาดแต่เราให้ความสำคัญน้อยไปในเรื่องการสอนให้เด็กนำความรู้ไปแบ่งปันหรือใช้ประโยชน์ หลายครั้งที่เกิดคำถามว่าเรียนไปเพื่ออะไร คำตอบที่ได้คือเพื่ออนาคต แล้วอนาคตเมื่อไหร่จะถึง ไม่มีใครตอบได้แม้แต่คนสอนเอง หลังจากที่เรียนไปแล้วหากได้นำไปใช้ประโยชน์ ใช้สอบ พัฒนาทักษะต่างๆ หรือประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการรู้จักแบ่งปันความรู้ ถ้ารู้จักแบ่งปันความรู้น้ำไม่มีทางเต็มแก้วแน่นอน
เพราะสิ่งที่เรียนไปก็เพื่อช่วยเหลือตนเองให้ใช้ชีวิตอยู่ได้ในสังคมปัจจุบันไม่ใช่อนาคต และเพื่อช่วยเหลือคนอื่น เราจะช่วยเหลือคนอื่นได้อย่างไรหากขาดความรู้ ทั้งสองประการคือเหตุผลที่เราต้องเรียน จะดีกว่าไหม หากเราเป็นคนมีน้ำครึ่งแก้วและพร้อมจะแบ่งปันให้คนอื่น บางทีการศึกษาอาจช่วยลดอัตตาในตัวเราลงได้บ้าง |